Jo Kwon&Gain

Jo Kwon&Gain

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบบเครือขาย & การติดต่อสื่อสาร

ระบบเครือขาย เเละการติดต่อสื่อสาร

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
<!--[if !supportLists]-->n <!--[endif]-->การสื่อสารข้อมูล เป็นการส่งข้อมูลข่าวสารจากต้นทางไปยังปลายทางโดยผ่านช่องทางการสื่อสารทั้งสื่อแบบที่ต้องใช้สายและไม่ใช้สายนอกจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับชนิดของสัญญาณ ประเภทของการส่งสัญญาณข้อมูล วิธีการสื่อสารข้อมูล ทิศทางการสื่อสารข้อมูล อุปกรณ์แปลงสัญญาณ วิธีการแปลงสัญญาณ
<!--[if !supportLists]-->n <!--[endif]-->เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป เพื่อติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยทั่วไปจะประกอบด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ ช่องทางการสื่อสารข้อมูล  และอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อ นอกจากนั้นยังมีแบบจำลองไอเอสโอ ซึ่งเป็นระบบเปิดเพื่อเป็นแนวทางมาตรฐาน เพื่อให้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่างระบบกันทำงานร่วมกันได้
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล
<!--[if !supportLists]-->n <!--[endif]-->ก่อนที่จะมีการใช้คอมพิวเตอร์ การติดต่อสื่อสารเพื่อส่งข้อมูลและข่าวสารจะผ่านทางสื่อต่างๆ เช่น ไปรษณีย์ โทรศัพท์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสาร เป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อหลักในการติดต่อสื่อสารเป็นเวลานาน
<!--[if !supportLists]-->n <!--[endif]-->ยุคแรกการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน การทำงานทุกอย่างจะเป็นแบบรวมศูนย์ นั่นคือจะมีคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องหลักทำงานที่ศูนย์กลาง งานต่างๆจะต้องส่งมาประมวลผลที่ศูนย์กลาง
<!--[if !supportLists]-->n <!--[endif]-->ยุคต่อมา พัฒนาเป็นระบบการประมวลผลทางไกล ซึ่งจะประกอบด้วยเทอร์มินัลที่จะเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์กลาง ระบบนี้ถึงแม้ว่าจะมีการกระจายการใช้งานของผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกล แต่ระบบการทำงานก็ยังรวมศูนย์อยู่ที่คอมพิวเตอร์กลางขององค์การอยู่นั่นเอง
<!--[if !supportLists]-->n <!--[endif]-->เมื่อมีการนำไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ทำให้เกิดการทำงานแบบกระจายศูนย์อย่างชัดเจนและแพร่หลายมากขึ้น ในขณะเดียวกันหากมีงานที่ซับซ้อนและไม่สามารถทำงานได้โดยไมโครคอมพิวเตอร์ก็สามารถที่จะประมวลผลภายใต้คอมพิวเตอร์ที่ศูนย์กลางได้ ซึ่งจะเห็นว่าการทำงานดังกล่าวเป็นรูปแบบการประมวลผลแบบกระจาย
<!--[if !supportLists]-->n <!--[endif]-->ในช่วงแรก จะทำงานเป็นเอกเทศโดยเป็นรูปแบบการทำงานแบบกระจายศูนย์ นั่นคือ ไม่มีการเชื่อมโยงถึงกัน จนกระทั่งเกิดระบบแลน การทำงานใดๆจะทำโดยเจ้าของงานซึ่งเป็นต้นทางของข้อมูลเพื่อการประมวลผล แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถเชื่อมโยงกับผู้ใช้ในจุดต่างๆที่อยู่ห่างไกลกันได้ ทำให้การสื่อสารข้อมูลในสำนักงานมีความสะดวกและเป็นเครื่องมือสำคัญของการสื่อสารข้อมูลในสำนักงานปัจจุบันนี้
ความหมายของการสื่อสารโทรคมนาคมและการสื่อสารข้อมูล
<!--[if !supportLists]-->n <!--[endif]-->การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication) หมายถึง การส่งผ่านสัญญาณ หรือพลังงาน ซึ่งอาจจะเป็นข่าวสารหรือข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ระหว่างผู้ส่งและผู้รับที่อยู่ห่างไกลกัน ในการส่งผ่านสัญญาณจะอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล ซึ่งจะเป็นแบบใช้สายโดยใช้ลวดตัวนำฉนวน หรือแบบไม่ใช้สายโดยส่งสัญญาณผ่านชั้นบรรยากาศ เช่น การสื่อสารโดยการใช้โทรศัพท์ (tele+phone = การพูดระยะไกล) การแพร่ภาพโทรทัศน์ (tele + vision  = การดูระยะไกล) โทรเลข (tele + graph = การเขียนทางไกล) เป็นต้น
<!--[if !supportLists]-->n <!--[endif]-->การสื่อสารข้อมูล (Data communication) หมายถึง การส่งข้อมูลหรือข่าวสาร จากผู้ส่งต้นทางไปยังผู้รับปลายทางที่อยู่ห่างไกล โดยผ่านช่องทางการสื่อสารเพื่อเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นแบบใช้สาย หรือไม่ใช้สายก็ได้ ส่วนข้อมูลหรือข่าวสารนั้นอาจจะเป็นข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือข้อมูลที่เป็นมัลติมีเดียก็ได้ ดังนั้นการสื่อสารข้อมูลจึงเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารโทรคมนาคม โดยเน้นการส่งผ่านข้อมูล โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเป็นหลัก
ตัวอย่างการสื่อสารข้อมูล

ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการเลือกตัวกลาง
<!--[if !supportLists]-->n <!--[endif]-->อัตราเร็วในการส่งผ่านข้อมูล (Transmission Rate)
<!--[if !supportLists]-->n <!--[endif]-->ระยะทาง ระหว่างอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อ
<!--[if !supportLists]-->n <!--[endif]-->ค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ค่าใช้จ่ายประจำ และค่าบำรุงรักษา
<!--[if !supportLists]-->n <!--[endif]-->ความสะดวกในการติดตั้ง บางพื้นที่อาจเหมาะกับการเดินสาย หรือบางพื้นที่อาจจะเหมาะกับสื่อแบบไร้สาย
<!--[if !supportLists]-->n <!--[endif]-->ความทนทานต่อสภาพแวดล้อม
<!--[if !supportLists]-->n <!--[endif]-->วิธีที่ใช้ในการสื่อสาร เช่นการสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม หรือแบบขนาน ทิศทางที่ใช้ส่งข้อมูลเป็นแบบทางเดียว กึ่งสองทาง หรือแบบสองทาง เป็นต้น
ชนิดของสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล
<!--[if !supportLists]-->n <!--[endif]-->สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal)
          สัญญาณอนาล็อก คือ สัญญาณที่อยู่ในรูปแบบของคลื่น (Waveform) ที่มีความต่อเนื่องกัน (Continuous) มีการเปลี่ยนแปลงระดับของสัญญาณขึ้น ลงตามขนาดของสัญญาณ (Amplitude) และมีความถี่ (Frequency) ที่เรียกว่า Hertz (Hz) ตัวอย่างของสัญญาณอนาล็อก เช่น เสียงพูด (Voice) กระแสไฟฟ้าสลับ เป็นต้น
<!--[if !supportLists]-->n <!--[endif]-->สัญญาณดิจิตอล (digital Signal)
            สัญญาณดิจิตอล หรือเรียกว่า สัญญาณพัลซ์ (Pulse Signal)” สัญญาณที่มีระบบของสัญญาณเพียง 2 ระดับ คือ สูงและต่ำ การเปลี่ยนระดับสัญญาณจะไม่มีความต่อเนื่องกัน (Discrete) โดยปกติแล้วระดับสูงจะแทนด้วยตัวเลข 1 และระดับต่ำจะแทนด้วย 0
           
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
<!--[if !supportLists]-->n <!--[endif]-->ระบบเครือข่าย (Network) คือ กลุ่มของเทคโนโลยี (ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ตัวกลาง และอื่นๆ) ที่สามารถเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นสามารถติดต่อสื่อสารกัน และเปลี่ยนสารสนเทศระหว่างกัน และใช้แหล่งข้อมูลร่วมกันแบบเรียลไทม์ (real time)
<!--[if !supportLists]-->n <!--[endif]-->ในปัจจุบันองค์กรบางองค์กรใช้ระบบรวมศูนย์กลาง คือ ใช้เครื่องเมนเฟรมและเครื่องเทอร์มินัล แต่ในขณะเดียวกันระบบธุรกิจและโรงเรียนจำนวนมากได้เปลี่ยนจากระบบรวมศูนย์กลางเป็นระบบเครือข่ายแบบใช้เครื่องพีซี เพราะมีความยืดหยุ่นมากกว่าการใช้เครื่องเมนเฟรมร่วมกับเครื่องเทอร์มินัล
ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
<!--[if !supportLists]-->n <!--[endif]-->เครือข่ายแลนเป็นเครือข่ายสำคัญที่ปรับเปลี่ยนการทำงานภายในสำนักงานให้เป็นระบบสำนักงานอัตโนมัติ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลมาช่วยอำนวยความสะดวก ในการทำงานในสำนักงานด้านต่างๆ ได้แก่
            - การติดต่อสื่อสารภายในสำนักงาน เช่น การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างพนักงาน การนัดหมาย เป็นต้น
            - การใช้ทรัพยากรต่างๆ ร่วมกัน เช่น การใช้แฟ้มข้อมูล หรือ ฐานข้อมูลกลางระหว่างหน่วยงาน การใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน เป็นต้น
            - การทำงานร่วมกัน เช่น การทำงานกลุ่ม เพื่อส่งเอกสารระหว่างสมาชิกในกลุ่ม การประชุมทางไกล เป็นต้น
<!--[if !supportLists]-->n <!--[endif]-->ชนิดของเครือข่ายแลน (แบ่งตามการจัดการทรัพยากรของเครือข่ายคอมพิวเตอร์)
<!--[if !supportLists]-->¨ <!--[endif]--> แบบลูกข่าย/แม่ข่าย (Client/Server)
          มีแม่ข่าย (Server) ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ที่มักจะใช้ควบคุมการทำงานในเครือข่ายเป็นผู้ให้บริการแก่คอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Client) ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายแลน
                   - แบบแม่ข่ายกำหนดหน้าที่เฉพาะ (Delicate Server)
                   - แบบแม่ข่ายไม่กำหนดหน้าที่เฉพาะ (Non delicate server)
<!--[if !supportLists]-->¨ <!--[endif]--> แบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer)
คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายมีสถานะเท่าเทียมกันหมด คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถเป็นผู้ให้บริการและผู้รับบริการในขณะใดขณะหนึ่ง
<!--[if !supportLists]-->n <!--[endif]-->เครือข่ายระยะไกลหรือเครือข่ายแวน
            แวน คือ ระบบเครือข่ายแลนสองระบบเครือข่ายหรือมากกว่าเชื่อมต่อกัน โดยส่วนมากจะครอบคลุมพื้นที่กว้าง ตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่งมีสำนักงานขนาดใหญ่ และฝ่ายการผลิตตั้งอยู่ที่เมืองหนึ่ง ฝ่ายการตลาดตั้งอยู่อีกเมืองหนึ่ง แต่ละแผนกต้องมีการใช้ทรัพยากร ข้อมูล และโปรแกรม นอกจากนี้แต่ละแผนกต้องการใช้ข้อมูลร่วมกับแผนกอื่นด้วย จึงต้องมีการระบบแวน
โปรโตคอล (Protocol)
 
 
<!--[if !supportLists]-->n <!--[endif]-->โปรโตคอล คือ ระเบียบวิธีการ กฎ และข้อกำหนดต่าง ๆ ใน
            การติดต่อสื่อสารรวมถึงมาตรฐานที่ใช้เพื่อให้สามารถส่งผ่านข้อมูล
            ไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง
<!--[if !supportLists]-->n <!--[endif]-->TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
            โปรโตคอลมาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันใช้ระบบปฏิบัติการที่ต่างกันและอยู่บนเครือข่ายที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันผ่านทางเครือข่ายได้โดย TCP/IP จะประกอบไปด้วยโปรโคตอล 2 ตัว TCP (Transmission Control Protocol) และ IP (Internet Protocol)
<!--[if !supportLists]-->n <!--[endif]-->SMTP (Simple Mail Transport Protocol)
          โปรโตคอลที่ใช้ในการส่ง E-mail ไปยัง Mailbox ที่จุดหมายปลายทาง
<!--[if !supportLists]-->n <!--[endif]-->POP3 (Post Office Protocol – 3)
          โปรโตคอลที่ใช้ในการดึง E-mail จาก Maibox ของผู้ให้บริการมาเก็บไว้ที่เครื่องตนเองเพื่อให้สะดวกต่อการจัดการับ E-Mail
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในธุรกิจ
<!--[if !supportLists]-->n <!--[endif]-->ตัวอย่างบริการบนอินเตอร์เน็ต (Internet)
 E-mail
 Telnet
 <!--[endif]--> Gopher, Archie
 <!--[endif]--> Instant Messaging, Chat Room
 <!--[endif]--> Internet Telephony
 <!--[endif]--> Newsgroup
 <!--[endif]--> USENET

ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

Internet เบื้องต้น

ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

}  พ.ศ. 2512   กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ได้ก่อตั้ง  ระบบเครือข่าย ARPANET ( Advance Research Project Agency Network)   สำหรับการสื่อสารของทหาร และได้เชื่อมต่อกับ มหาวิทยาลัย 4 แห่ง
}  พ.ศ. 2528  มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (The National Science Foundation ) ของสหรัฐ ได้วางระบบเครือข่ายขึ้นมาอีกระบบหนึ่ง เรียกว่า NSFNet ซึ่งประกอบด้วยซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 5 เครื่องใน 5 รัฐ เชื่อมต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และมีการใช้มาตรฐาน TCP/IP เป็นมาตรฐานหลักในการรับส่งข้อมูล
}  พ.ศ. 2530 เครือข่าย ARPANET ได้รวมกับ NSFNET และลดบทบาทตัวเองลงมา เปลี่ยนไปใช้บทบาทของ NSFNet แทน และเลิกระบบ ARPANET ในปีพ.ศ. 2534
}  พ.ศ. 2534  World Wide Web (WWW) ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยสถาบันวิจัยยุโรป มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศ
}   4 – 5 ปี ต่อมา มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตถึง 30 ล้านคน  บริษัทต่าง ๆ เห็นโอกาสทางธุรกิจจึงได้สร้างเว็บไซต์ของตนขึ้นเพื่อเสนอข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทของตน และ มีบริการจากอินเทอร์เน็ตมากมาย ที่ได้รับความนิยม
ในปัจจุบัน
ประวัติ Internet ในประเทศไทย
}  พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับอาจารย์โทโมโนริ คิมูระ  ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียว และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น
}  พ.ศ. 2530 มีการเชื่อมต่อจากมหาวิทยาลัย ในประเทศไทยไปยังมหาวิทยาลัยในประเทศออสเตรเลีย โดยใช้สายโทรศัพท์
}  พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)  ได้เชื่อมต่อเครือข่ายไทยสารเข้ากับมหาวิทยาลัยและองค์กรในประเทศ 6 แห่ง
}  พ.ศ. 2538 กำเนิด บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของไทย
สถิติผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
 

Internet
}  อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน มาจากคำว่า Inter Connection Network
}  อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกัน ได้โดยใช้มาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
อินเทอร์เน็ตทำงานอย่างไร
 

 
}  เป็นการเชื่อมต่อในรูปแบบที่เรียกว่า Client-Server
}  Client คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นฝ่ายขอรับบริการ  เช่นขอเรียกดู Web Page  ขอแฟ้มข้อมูล ต่าง ๆ
}  Server คือเครื่องผู้ให้บริการตามที่ client ร้องขอมา เช่น Web Server เป็นเครื่องที่ให้บริการ Web    ,   Mail server สำหรับให้บริการ  E - mail
World Wide Web
}  World Wide Web : WWW  เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต  โดยประกอบด้วยเอกสารที่รวบรวมข้อมูลข่าวสารไว้จำนวนมากที่เก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั่วโลก 
}  โดยข้อมูลบน WWW อาจอยู่ในรูปแบบของ ข้อความ  ภาพ เสียง หรือ มัลติมีเดีย
}  เรียกสั้น ๆ ว่า web
}  ใช้มาตรฐานการสื่อสาร เอชทีทีพี (HTTP protocol )
}  โดยจะแสดงผลผ่าน Web browser
}  Web page คือ เอกสารบนเว็บที่สามารถแสดงข้อมูลหรือสารสนเทศที่เป็นข้อความ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว โดยเก็บอยู่ในรูปของ ไฟล์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถเข้าชม Web page แต่ละหน้า โดยใช้ Web Browser เรียก URL (Uniform Resource Locator) ของหน้าเว็บนั้น
}  เช่น URL
            HTTP://WWW.npru.ac.th/science/index.html
URL (Uniform Resource Locator)
}  URL เป็นการระบุตำแหน่งของแฟ้มข้อมูลใน Internet
}  ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก มีรูปแบบการเขียนดังนี้ 
                                  Service://node/path
}  Service หมายถึง ชนิดหรือวิธีการที่จะใช้ในการนำแฟ้มนั้นมา
}  Node เป็นชื่อของเครื่อง (domain name) ซึ่งมีแฟ้มข้อมูลที่ต้องการเก็บอยู่
}  Path เป็นส่วนของชื่อและตำแหน่งของแฟ้มในเครื่องนั้น
}  HTTP://WWW.npru.ac.th/science/index.html
มาตรฐานการสื่อสาร TCP/IP
}  TCP/IP : Transmission Control Protocol / Internet Protocol  เป็นมาตรฐานในการสื่อสาร ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้ และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ แบ่งได้ 2 ส่วนคือ  TCP  และ  IP
}  TCP  เป็นการเชื่อมต่อในระดับโปรแกรมประยุกต์ โดยการส่งการร้องขอการเชื่อมต่อ และเป็นการเชื่อมต่อแบบสองทาง (full-duplex communication)
}  IP เป็นการสื่อสารโดยไม่มีการเชื่อมต่อค้างไว้  โดยเป็นการส่งข้อความที่อยู่ในลักษณะของ Packet  ไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น  ๆ ที่เป็นจุดหมายปลายทาง
การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต
}  World Wide Web(WWW)
      บริการเข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน
}  Electronic Mail(E-Mail)
      บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ สามารถส่ง ข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ไปพร้อมกับจดหมายได้
}  Chat
      บริการสนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้งานสามารถพูดคุยโต้ตอบกันได้โดยทันที
}  File Transfer Protocol (FTP)
      บริการขนถ่ายแฟ้มข้อมูล ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
}  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เชื่อมต่อกันทั่วโลกผ่าน สายสัญญาณโทรศัพท์ ใยแก้วนำแสง (fiber optic) สัญญาณดาวเทียม สัญญาณไมโครเวฟ
ISP ( Internet Service Provider) คือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเชื่อมโยงกัน โดยมีทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ เช่น Loxinfo , A-Net , Uninet , True
ลักษณะการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
}  การเชื่อมต่อแบบบุคคล
}  ใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้าน  หรือที่ทำงาน เชื่อมต่อผ่านสารโทรศัพท์ หรือ แบบไร้สาย โดยใช้ Modem โดยเชื่อมต่อกับ ISP  ซึ่งจ่ายค่าบริการเป็นชั่วโมง หรือ รายเดือน
}  การเชื่อมต่อแบบองค์กร
}  องค์กรที่มีเครือข่ายภายในอยู่แล้ว สามารถเชื่อมต่อกับ ISP โดยอาศัยอุปกรณ์เราเตอร์ (router)  โดยสามารถเลือกการเชื่อมต่อสัญญาณได้หลายรูปแบบ เช่น สายวงจรเช่า (leased line)   , ระบบวงจรไอเอสดีเอ็น (ISDN) ,ระบบดาวเทียม ระบบไมโครเวฟ
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
Hi-speed Internet
}  ADSL (Asymmetic Digital Subsciber Line) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงโดยสามารถสื่อสารโดยใช้ สายโทรศัพท์ โดยใช้  ADSL Modem 
}  ข้อดีคือสามารถใช้งานโทรศัพท์พร้อมกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้
}  ความเร็ว  2048/512  Kbps หมายถึง
}  ความเร็วในการ Download 2048 Kbps
}  ความเร็วในการ Upload 512 Kbps
ตัวอย่าง Package ของ TT&T
 

IP Address
}  เป็นหมายเลขประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย   ประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุดที่คั่นกันด้วยเครื่องหมายจุด(.) เช่น 172.16.254.1ตัวเลขในแต่ละชุดจะมีขนาด 8 บิต แต่ละชุดจึงมีค่าตัวเลขได้ตั้งแต่ 0 ถึง 255
 

Domain Name
}  Domain Name คือชื่อที่ใช้ในการอ้างอิงเพื่อไปยัง Website ต่างๆ ที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตชื่อที่ใช้ต้องเป็นชื่อที่ไม่มีใครในโลกใช้เพราะถ้ามีคนใช้ชื่อใดแล้วเราจะไปจดชื่อซ้ำไม่ได้
}  เนื่องจาก IP Address อยู่ในรูปของตัวเลขซึ่งยากแก่การจดจำดังนั้นจึงเป็นการสะดวกกว่าที่จะใช้ชื่อหรือกลุ่มของตัวอักษร ซึ่งก็คือ Domain Name ในการอ้างอิงแทน โดยจะอาศัย DNS Server มาช่วยจับคู่ IP Address และ Domain name เข้าด้วยกัน ดังนั้นเมื่อมีผู้ต้องการที่จะเรียกดู Website ของท่าน ไม่ว่าจะทราบ IP Address หรือ Domain name เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ผิดพลาด
รหัสที่ใช้แทนใน Domain Name
}  . Top Level Domain Name  (ต่างประเทศ)
      .COM ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป รวมทั้งเว็บไซต์ส่วนตัว และมีบางครั้งนำไปใช้ทำเว็บไซต์ (web site) ประเภทอื่นๆ ด้วย
      .NET ใช้ทำเว็บไซต์เกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์ค (network) ของคอมพิวเตอร์ หรือเว็บไซต์บริการอินเทอร์เน็ต แต่บางครั้งก็นำไปใช้ด้านอื่นด้วย
      .ORG ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ บางครั้งก็มีการจดทะเบียนนำไปใช้กับเว็บไซต์ประเภทอื่นด้วย
}  2. Local Domain Name (ภายในประเทศต่าง ๆ )

Browser
}  Browser คือ ซอฟท์แวร์ที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตใช้เพื่อเรียกดูข้อมูลบน WWW หรือ เป็นโปรแกรมสำหรับแสดงเว็บเพจนั่นเอง  โดยหน้าเว็บเพจจะถูกเขียนด้วยภาษา HTML และถูกแปลความหมายด้วย Browser


องค์ประกอบของการพัฒนาเว็บไซต์
}  Hardware
      เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่ทำหน้าที่ให้บริการ (Server) เครื่องเรียกใช้บริการ(Client) เราเตอร์  โมเด็ม 
}  Software
      HTML editor
      Server-side script  เช่น PHP , ASP
      Client-side script  เช่น JavaScript , AJAX
      Web server application เช่น  Apache , IIS , PWS
      ซอฟท์แวร์มัลติมีเดีย
}  ระบบการจัดการฐานข้อมูล (Database Management System)
      MySQL
      MS Access
      Oracle